วันอังคารที่ 27 ตุลาคม พ.ศ. 2552

กู่น้อย

กู่น้อย

กู่น้อยตั้งอยู่ที่ตำบลกู่สันตรัตน์ อำเภอนาดูน จังหวัดมหาสารคาม อยู่ห่างจากกู่สันตรัตน์ไปทางทิศตะวันออกประมาณ 500 เมตร สร้างด้วยศิลาแลงและหินทรายสีแดง มีปรางค์กู่ 1 หลัง ตั้งอยู่ตะวันตกจะสร้างเป็นอาคารไม้สำหรับเป็นที่พักและประกอบศาสนกิจ ปัจจุบันอาคารไม้ไม่เหลือให้เห็นคงเหลือเฉพาะหลุมหินสไหรับฝังเสาขนาดใหญ่เท่านั้น โบราณสถานแห่งนี้ได้ขุค้นพบโบราณวัตถุมากมาย เช่น เทวรูป พระอิศวรพระนารายณ์ เศียรเทวรูป พระกรเทวรูป เป็นต้น พ.ศ.2544 สำนักงานโบราณคดีและพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติที่ 7 ขอนแก่นได้ทำการสำรวจขุดค้นบูรณะปรับปรุงภูมิทัศน์โบราณสถานแห่งนี้จนเสร็จสมบูรณ์และสวยงามน่าทัศนศึกษาเป็นอย่างมาก


ศาลานางขาว

ศาลานางขาวตั้งอยู่ห่างจากกู่สันตรัตน์ไปทางทิศเหนือประมาณ 500 เมตรก้อสร้างด้วยศิลาแลฃ ขนาดกว้างประมาณ 100 เมตร ยาวประมาณ 20 เมตร ความสูงไม่ปรากฏชัดเพราะพังทลายลงหมดแล้ว จากการสันนิษฐานว่าคงเป็นสถานที่ประกอบศาสนกิจอีกแห่งหนึ่ง และทางด้านทิศตะวันออกจะเป็น โรงช้าง โรงม้า เพราะมีหลักฐานที่ปรากฏอยู่คือเสาไม้เลี้ยมปลายขนาดความยาวประมาณ 5 เมตร ยังเหลืออยู่หลายสิบต้น และพบกระดูกฟันสัตว์เป็นจำนวนมาก นอกจากนั้นโลราณสถานแห่งนี้คงเป็นสถานที่สำคัญไม่น้อย เพราะได้ขุดพบหลักศิลา จารึก 14 บรรทัด จำนวน 1 หลัก และขุดค้นพบเทวรูปนางอุมาดทำด้วยหินทรายสีขาว 1 คู่ สาเหตุที่ได้ชื่อว่า ศาลานางขาว คงเนื่องมาจากได้ขุดค้นพบเทวรูปนางอุมาซึ่งทำด้วยหินทรายสีขาวนั่นเอง จึงได้เรียกสถานที่แห่งนี้ว่า ศาลานางขาว

บ่อน้ำศึกดิ์สิทธิ์

บ่อน้ำศึกดิ์สิทธิ์

บ่อน้ำศักดิ์สิทธิ์เป็นบ่อน้ำที่ผุดดันขึ้นจากใต้พื้นดินอยู่ตลอดเวลาไม่มีเหือดแห้ง ตั้งอยู่บนพื้นที่นาของ นายก้าน ปัจจัยโก ชาวบ้านทั่วไปเรียกบ่อน้ำแห่งนี้ว่า บ่อน้ำดูน หรือ หนองน้ำดูน นาที่อยู่ใกล้บ่อน้ำแห่งนี้เรียกว่า นาน้ำดูนต่อมาเรียกสั้น ๆ ว่านาดูนหมู่บ้านตั้งอยู่ใกล้เรียกว่า บ้านนาดูน

บ่อน้ำศักดิสิทธิ์ตั้งอยู่ที่ตำบลนาดูน อำเภอนาดูน จังหวัดมหาสารคาม อยู่ห่างจากที่ว่าการอำเภอนาดูนไปทางทิศเหนือประมาณ 3.5 กิโลเมตร สาเหตุที่ได้ชื่อว่า บ่อน้ำศักดิ์สิทธิ์เนื่องจาก เมื่อ พ.ศ.2468 กระทรวงมหาดไทยได้สั่งการให้หัวเมืองในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จัดหาน้ำในสระ หรือบ่อน้ำศักดิ์สิทธิ์ จัดส่งไปไปรวมในพระราชพิธีรัชมหามังคลาภิเษก พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชการที่ 7ทรงเสวยราชย์พระยาสารคามคณาภิบาล (อนังค์พยัคฆันต์) ข้าหลวงประจำจังหวัดมหาสารคาม(ผู้ว่าราชการจังหวัดมหาสารคาม)ในขณะนั้น ได้สั่งให้รองมาตย์เอกหลงพิทักษ์นรากร นายอำเภอวาปีปทุมจัดหาน้ำมงคลอันศักดิ์สิทธิ์ รองอำมาตย์เอกหลงพิทักษ์รากรได้ประชุมข้าราชการและประชาชน มีมติในห้นำน้ำจากหนองน้ำดูนไปเข้าร่วมพิธีโดยได้ส่งมอบน้ำให้พระยาสารคามคณาภิบาล ข้าหลวงประจำจังหวัดมหาสารคาม เพื่อจัดส่งไปยังสมุเทศาภิบาลร้อยเอ็ด และกรุงเทพฯ ต่อไป

พ.ศ.2494 ประชาชนได้ข่าวลือทั่วไปว่า ถ้าใครเจ็บไข้ได้ป่วยเป็นโรค เช่น เป็นโรคง่อยเปลี้ยเสียขา ปวดหลัง ปวดเอว ปวดท้อง ปวดศีรษะ หรือเป็นโรคอื่น ๆ เมื่อน้ำจากบ่อน้ำดูนไปอาบไปกินโรคนั้งก็จะหาย จึงมีประชาชนจากอำเภอและจังหวัดใกล้เคียงได้หลั่งไหลไปตักน้ำจากบ่อน้ำแห่งนี้ไปรักษาโรคกันเป็นจำนวนมาก ในวโรกาศที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชฯ รัชการที่ 9 ทรงเจริญพระชนมพรรษา 5 รอบ ในวันที่ 5 นวาคม พ.ศ2530 กระทรวงมหาดไทยได้ให้จังหวัดมหาสารคามนำน้ำศักดิ์สิทธิ์เพื่อทูลเกล้าฯ ถวายเป็นน้ำมังคลาภิเษกในวันเสด็จออกมหาสมาคมในพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 5 รอบ ณ มณฑลพิธีท้องสนามหลวง

นายไสว พรามหมณี ผู้ว่าราชการจังหวัดมหาสารคาม ได้ประชุมนายอำเภอทุกอำเภอและหัวหน้าส่วนราชการประจำจังหวัด พิจารณาหาน้ำจากสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ในเขตจังหวัด

มหาสารคาม ที่ประชุมมีมติให้นำน้ำจากบ่อน้ำดูน หรือหนองน้ำดูนแห่งนี้เข้าส่งเข้าทูลเกล้า ฯ ในพระราชพิธีดังกล่าวโดยได้ประกอบพลีกรรมตักน้ำศักดิ์สิทธิ์ในวันพุธที่ 4 พฤษจิกายนพ.ศ.2530 เวลา 09.00 น แล้วนำไปพักไว้ที่พระอุโบสถวัดมหาชัย จังหวัดมหาสารคาม และได้ส่งต่อไปยังกระทรวงมหาดไทย เพื่อเข้าร่วมพิธีต่อไป

และในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชฯ รัชการที่ 9 ทรงเจริญพระชนมพรรษา 6 รอบ ในวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ.2542 จังหวัดมหาสารคามได้ประกอบพิธีกรรมตักน้ำจากบ่อศักดิ์สิทธ์แห่งนี้ เพื่อเข้าร่วมประกอบพระราชพิธีถวายสวัสดิมงคลแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ฯ โดยนายประสิทธิ์ เอี่ยมประชา รองผู้ว่าราชการจังหวัดมหาสารคาม เป็นประธานในพลีกรรมตักน้ำ ณ บ่อน้ำศักดิ์สิทธิ์ ในวันพฤหัสบดีที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ.2542เวลา 16.39 น.และนำน้ำไปพักไว้ที่พระอุโบสถวัดมหาชัย จังหวัดมหาสารคาม เพื่อประกอบพิธีเสกน้ำ แล่ะงต่อไปยังกระทรวงมหาดไทยต่อไป จึงเรียกบ่อน้ำแห่งนี้ว่า บ่อน้ำศักดิ์สิทธิ์

กู่สันตรัตน์

กู่สันตรัตน์

กู่สันตรัตน์ตั้งอยู่ที่ตำบลกู่สันตรัตน์ อำเภอนาดูน จังหวัดมหาสารคาม ตั้งอยู่ห่างจากที่ว่าการอำเภอนาดูน ไปทางทิศตะวันออก ประมาณ 4 กิโลเมตร สร้างด้วยศิลาแลงเป็นศิลปะขอมแบบ บายน มีรูปลักษณะปราสาทหินที่มีปรางค์ประธานเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัตมีมุขด้านหน้ายื่นไปทางทิศตะวันออก มีบรรณาลัยซึ่งเป็นที่เก็บคัมภีร์ทางศาสนาตั้งอยู่ทางทิศตะวันนออกเฉียงใต้หันหน้าเข้าหาปรางค์ประธาน อาคารทั้ง 2 ล้อมด้วยกำแพงศิลาแลงซึ่งสร้างยังไม่เสร็จเรียบร้อยอีกชั้นหนึ่ง

กู่สันตรัตน์สร้างขึ้นมาด้วยมีวัตถุประสงค์เพื่อประดิษฐานรูปเคารพสำหรับประกอบพิธีกรรมทางศาสนา และเป็นโรคยาศาล คือเป็นที่พักรักษาพยาบาลคนเจ็บป่วยอีกด้วย

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ทรงเคยเสด็จทอดพระเนตร และทรงเยี่ยมราษฎรที่กู่สันตรัตน์แห่งนี้เมื่อวันที่ 27 ตุลาคม พ.ศ.2514

วัดอรุณราชวราราม


วัด อรุณราชวราราม เป็นวัดโบราณสร้างมาตั้งแต่สมัยอยุธยา ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกของฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา เดิมเรียกว่า “วัดมะกอก” ตามชื่อตำบลบางมะกอกซึ่งเป็นตำบลที่ตั้งวัด ภายหลังเปลี่ยนเป็น “วัดมะกอกนอก” เพราะมีวัดสร้างขึ้นใหม่ในตำบลเดียวกันแต่อยู่ลึกเข้าไปในคลองบางกอกใหญ่ชื่อ “วัดมะกอกใน”

ต่อ มาใน พ.ศ. ๒๓๑๐ เมื่อสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช พระราชประสงค์จะย้ายราชธานีมาตั้ง ณ กรุงธนบุรีจึงเสด็จกรีฑาทัพล่องลงมาทางชลมารคถึงหน้าวัดมะกอกนอกนี้เมื่อ เวลารุ่งอรุณพอดี จึงทรงเปลี่ยนชื่อวัดมะกอกนอกเป็น “วัดแจ้ง” เพื่อเป็นอนุสรณ์แห่งนิมิตที่ได้เสด็จมาถึงวัดนี้เมื่อเวลาอรุณรุ่ง

เมื่อพระ เจ้าตากสินมหาราชโปรดให้ย้ายราชธานีจากกรุงศรีอยุธยามาตั้ง ณ กรุงธนบุรีและได้ทรงสร้างพระราชวังใหม่ มีการขยายเขตพระราชฐาน เป็นเหตุให้วัดแจ้งตั้งอยู่กลาง พระราชวังจึงไม่โปรดให้มีพระสงฆ์จำพรรษา

สถานที่ประวัติศาสตร์เมืองจันทบุรี




ตั้งอยู่ที่ ตำบลวังกระแจะ บนทางหลวงหมายเลข 3147 หากเริ่มจากหน้าโรงแรมอีสเทอร์น ไปตามถนนท่าแฉลบอีก 6 กิโลเมตร มีทางแยกเลี้ยวขวาไปประมาณ 400 เมตร
พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 โปรดเกล้าฯ ให้เจ้าพระยาพระคลังสร้างขึ้นเมื่อวันที่ 9 มกราคม พ.ศ. 2377 โดยรื้อศิลาแลงและอิฐของกำแพงจากเมืองเก่าจันทบุรีไปสร้าง เพื่อป้องกันการรุกรานของพวกญวน บนกำแพงค่ายวางปืนใหญ่เรียงรายอยู่โดยรอบ ภาย ในบริเวณค่ายมีศาลหลักเมืองสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช และวัดโยธานิมิตรซึ่งสร้างขึ้นเพื่อเป็นวัดประจำเมือง ปัจจุบันเป็นที่ตั้งของหน่วยโบราณคดีใต้น้ำ
กรมศิลปากร ซึ่งเป็นสถานที่เก็บรักษาโบราณวัตถุและเครื่องปั้นดินเผาที่ยึดได้จากเรือออ สเตรเลี่ยนไทด์ที่ละเมิดน่านน้ำอ่าวไทย เพื่อลักลอบนำโบราณวัตถุออกไปยังต่างประเทศ หน่วยโบราณคดีแห่งนี้เปิดให้นักท่องเที่ยวเข้าชมทุกวัน โดยไม่เสียค่าเข้าชม