วันจันทร์ที่ 2 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552
:: ชมพระอาทิตย์ตกทะเล ที่แหลมพรหมเทพ ::
:: ชมพระอาทิตย์ตกทะเล ที่แหลมพรหมเทพ :: |
จุดท่องเที่ยวยอดนิยมของเกาะ ภูเก็ต มุมมองสวยที่สุดในการชมพระอาทิตย์ตกและได้รับการประกาศเป็นจุดสำคัญทางดารา ศาสตร์จุดหนึ่งของเมืองไทย แม้จะรู้จักกันดีว่า นี่คือแหล่งท่องเที่ยวติดอันดับ 1 ของเกาะภูเก็ต แต่แหลมพรหมเทพก็ยังเป็นสัญลักษณ์อันมั่นคง ที่คนมาภูเก็ตต้องไปดู พระอาทิตย์ตกทะเลผ่านดงตาลและปลายแหลมอันเป็นเอกลักษณ์ วันเวลาพิเศษสุดพลาดไม่ได้ต้องไปในฤดูแล้งที่ฟ้าใสทะเลสวย เดือนธันวาคมหญ้าบนปลายแหลมจะกลายเป็นสีทอง ในยามเย็นใครเห็นก็ต้องยอมรับว่าพระอาทิตย์ตกทะเลสวยที่สุดของประเทศไทยอยู่ ที่นี่ ช่วงเวลาที่ดีที่สุด: ประมาณ 18.00 น. ช่วงพระอาทิตย์ตก ฤดูกาลที่ดีที่สุด: ฤดูร้อนราวเดือนธันวาคมถึงมีนาคม จุดชมวิวที่ดีที่สุด: บริเวณสันเขื่อนบนแหลมพรหมเทพ |
เกาะพีพีเล
เกาะพีพีเล พื้นที่เพียง 6.6 ตารางกิโลเมตร ของเกาะที่เต็มไปด้วยภูเขาหินปูนโดยรอบเกือบทั้งเกาะ หน้าผาสูงชันตั้งฉากกับผิวน้ำทะเลที่มีความลึก เฉลี่ยประมาณ 20 เมตร โดยมีบริเวณที่น้ำลึกสุดประมาณ 34 เมตรอยู่ทางตอนใต้ ทำให้กลายเป็นแหล่งชุมชนของตัวมวลปะการังมากมาย นับแต่แนวด้านตะวันออกเฉียงใต้ ไปตลอดถึงชายฝั่งตะวันออก ในขณะที่บางช่วงเป็นหน้าผามีแนวปะการังเคลือบอยู่เล็กน้อย และยังมีกัลปังหา อีกทั้งหอยมือหมีรวมอยู่ด้วย ปะการังที่เคยหนาแน่นอยู่ในท้องทะเลแถบนี้ เท่าที่มีการสำรวจพบว่าจะเป็นจำพวกปะการังโขดปะการังผิวยู่ยี่ ปะการังดาวใหญ่ ปะการังสีน้ำเงิน ปะการังดอกไม้ทะเล ปะการังถ้วยสมอง ปะการังไฟ ปะการังดอกเห็ด ปะการังเขากวางทรงพุ่มพาน สิ่งต่างๆเหล่านี้ คืออัญมณีเม็ดงามที่ได้ถูกซุกซ่อนไว้ภายในเกาะแห่งนี้ มานานนับแรมปี รอคอยผู้คนมาค้นพบขุมทรัพย์ล้ำค่าแห่งนี้
เกาะพีพี
:: เกาะพีพี :: | แผนที่เกาะพีพี |
มรกตกลางอันดามัน ที่ใครหลายคนปรารถนาจะมาเยือน ด้วยความงามของภูเขาหินปูนรูปร่างแปลกตา หาดทรายขาวละเอียด น้ำทะเลสวยใส การเดินทางที่สะดวกสบาย พรั่งพร้อมไปด้วยที่พัก ร้านอาหาร ร้านค้า แหล่งบันเทิง รวมถึง บริการด้านการท่องเที่ยว ที่ครบครัน เป็นสิ่งที่คอยดึงดูดผู้คนจากต่างแดน ให้เดินทางมาสัมผัสกับสวรรค์บนดินแห่งนี้ หมู่เกาะพีพี อยู่ห่างจากอำเภอเมือง 42 กิโลเมตร เป็นหมู่เกาะกลางทะเล ที่อยู่ในเขตรับผิดชอบของอุทยานแห่งชาติหาดนพรัตน์ธารา-หมู่เกาะพีพี ซึ่งประกอบด้วยเกาะ 6 เกาะ คือ เกาะพีพีเล เกาะพีพีดอน เกาะยูง เกาะไม้ไผ่ เกาะบิดะนอก และเกาะบิดะใน เล่ากันว่า เดิมชาวทะเลเรียกหมู่เกาะแห่งนี้ว่า "ปูเลาปิอาปิ" คำว่า "ปูเลา" แปลว่าเกาะ คำว่า "ปิอาปิ" แปลว่าต้นไม้ทะเลชนิดหนึ่งจำพวกแสม และโกงกาง ต่อมา เมื่อชาวมุสลิม และผู้คนจาก แผ่นดินใหญ่เข้ามาอยู่ จึงเรียกชื่อเกาะนี้สั้นๆว่า "ปีปี" ซึ่งภายหลังกลายเสียงมาเป็น "พีพี" หมู่เกาะพีพี ได้ชื่อว่าเป็นอาณาจักรแห่งบุปผา ใต้สมุทร นักท่องเที่ยวที่เดินทางมาเที่ยวหมู่เกาะแห่งนี้ส่วนใหญ่ มาเพื่อดำน้ำดูปะการัง ดอกไม้ทะเล และปลาหลากสีสันที่สวยงาม โดยมีเกาะที่น่าสนใจดังนี้ค่ะ เกาะพีพีดอน เวิ้งอ่าวคู่ที่มีความสวยงามติดอันดับโลกของอ่าวต้นไทรและอ่าวโละดาลัม คือความงามที่สร้างชื่อให้เกาะที่มีพื้นที่ ประมาณ 28 ตารางกิโลเมตรแห่งนี้ โด่งดังไปทั่วโลก บริเวณที่ราบแคบๆระหว่างอ่าวทั้งสองที่วาดโค้งเข้าหากันตรงกลางเกาะพีพีดอน นี้ คือ ศูนย์กลางการท่องเที่ยวของเกาะ และถือว่าเป็นสีสันการท่องเที่ยวที่โดดเด่นที่สุดของจังหวัดกระบี่เลยก็ว่าได้ จากอ่าวต้นไทร เราสามารถเดินขึ้นเขาไปยังจุดชมวิวเพื่อชมทัศนียภาพที่งดงามของเวิ้งอ่าวคู่ในขณะที่ตะวันลับฟ้าได้เช่นกัน กิจกรรมในการท่องเที่ยวจำแนกตามความนิยมได้ดังนี้ ดำน้ำตื้น อ่าวที่มีแนวปะการังน้ำตื้นสวยงาม เรียงลำดับจากสภาพสมบูรณ์มากจนถึงสภาพปานกลาง ได้แก่ อ่าวผักหนาม อ่าวรันตี อ่าววังหลง หาดยาว อ่าวต้นไทร อ่าวนุ้ย และอ่าวหยงกาเส็ม นักท่องเที่ยวสามารถเช่าอุปกรณ์ดำน้ำตื้นได้จากร้านดำน้ำบริเวณ อ่าวต้นไทร ราคา 50 บาท/ชิ้น/วัน ดำน้ำลึก ปะการังบริเวณปลายปีกอ่าวต้นไทรมีความสวยงามและอุดมไปด้วยสัตว์น้ำหลากสีสัน รองลงมาคือ หินแพ อยู่บริเวณหาดยาว เกาะอูฐ อยู่ด้านหน้าอ่าวนุ้ย และอ่าววังหลง ส่วนใหญ่ร้านดำน้ำจะเตรียมอุปกรณ์ดำน้ำลึกให้พร้อมสรรพ โดยคิดรวมไปกับค่าบริการ อยู่แล้ว ติดต่อได้ที่ร้านดำน้ำบริเวณอ่าวต้นไทร ซึ่งมีให้เลือกกว่า 20 ร้าน เล่นน้ำ พักผ่อน หลายหาดแม้จะไม่มีแนวปะการัง แต่ก็โดดเด่นด้วยความงามของหาดทราย น้ำตื้น เล่นน้ำได้อย่างปลอดภัย และมีบรรยากาศที่เงียบสงบเป็นส่วนตัว เหมาะจะไปนอนพักผ่อนชมธรรมชาติ ได้แก่ อ่าวโละลานะ อ่าวโละบาเกา อ่าวโละดาลัม และอ่าวโละมูดี นอกจากนี้ตามอ่าวต่างๆ ที่เป็นจุดดำน้ำก็มีชายหาดที่สวยงาม สามารถเล่นน้ำหรือนอนพักผ่อนอาบแดดได้เช่นกัน |
สุสานหอยสี่สิบล้านปี ::
สุสานหอยสี่สิบล้านปี :: |
ตั้งอยู่บริเวณชายทะเลบ้านแหลมโพธิ์ ห่างจากตัวเมืองประมาณ 17 กม. ใช้เส้นทางเดียวกับทาง ไปหาดนพรัตน์ธารา เมื่อถึงบ้านไสไทย จะมีป้ายบอกทางไปสุสานหอย บริเวณที่เป็นสุสานหอยแห่งนี้ เดิมเป็นหนองน้ำจืดขนาดใหญ่ มีหอยอาศัยอยู่เป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะหอยขม มีขนาดราว 2 ซม. ต่อมาเกิดการเปลี่ยนแปลงบริเวณ พื้นผิวโลก น้ำทะเลไหลเข้ามาท่วมบริเวณหนองน้ำจนหมด ทำให้ธาตุหินปูนในน้ำทะเลหล่อเปลือกหอยใต้น้ำจนเป็นเนื้อเดียวกัน กลายเป็นแผ่นหินแข็งที่เรียกว่า Shelly Limestone หนาประมาณ 40 เซนติเมตร เมื่อแผ่นดินบริเวณนี้ถูกยกตัวขึ้นสูง ซากฟอสซิลเหล่านี้จึง ปรากฏให้เห็นเป็นลานหินกว้างใหญ่ยื่นลงไปในทะเล จากการคำนวณหาอายุทางธรณีวิทยาพบว่า ฟอสซิลนี้มีอายุราว 40 ล้านปี ซึ่งมีเพียง 3 แห่งในโลกเท่านั้น คือที่ประเทศสหรัฐอเมริกา (มลรัฐชิคาโก) ประเทศญี่ปุ่น และประเทศไทย |
เกาะห้อง มหัศจรรย์ธรรมชาติธรรมชาติในป่าเกาะ
ในพื้นที่ “ป่าเกาะ” ของจังหวัดกระบี่ เกาะที่ สวยที่สุด คือ เกาะห้อง ซึ่งมีหาดทรายสวยที่สุด ฝูงปลามากมายที่สุด และทะเลในมหัศจรรย์ที่สุด
เกาะห้องเป็นเกาะใหญ่หนึ่งในป่าเกาะ จังหวัดกระบี่ ที่มีเกาะ อยู่มากมายนับร้อยเกาะ เกาะแห่งนี้มีจุดเด่นไม่เหมือนใคร ด้วยชายหาดด้านหน้าเกาะที่โค้งเกือบจะเป็นครึ่งวงกลมร่มรื่น
ด้วยแนวป่าชายหาดด้านหลัง น้ำทะเลที่นี่เป็นสีเทอคอยส์ ชวนให้ลงแหวกว่ายไปกับฝูงปลาแสนเชื่อง และทุกเดือน มีนาคม เกาะแห่งนี้จะเป็นที่รวมของฝูงปลาขนาดเล็กมากมาย ที่มาชุมนุมกันอย่างน่าอัศจรรย์ รวมไปถึงทะเลใน ที่ซ่อนไว้ ซึ่งมุมมองอันวิเศษสุดอีกด้านหนึ่งของเกาะ
ช่วงเวลาที่ดีที่สุด: 10.00 - 11.00 น. และ 14.00 - 16.00 น.
ฤดูกาลที่ดีที่สุด: ปลายเดือนธันวาคมถึงเดือนมีนาคม
จุดชมวิวที่ดีที่สุด: ชายหาดด้านหน้าและทะเลใน ซึ่งอยู่ด้านทิศเ
เกาะห้องเป็นเกาะใหญ่หนึ่งในป่าเกาะ จังหวัดกระบี่ ที่มีเกาะ อยู่มากมายนับร้อยเกาะ เกาะแห่งนี้มีจุดเด่นไม่เหมือนใคร ด้วยชายหาดด้านหน้าเกาะที่โค้งเกือบจะเป็นครึ่งวงกลมร่มรื่น
ด้วยแนวป่าชายหาดด้านหลัง น้ำทะเลที่นี่เป็นสีเทอคอยส์ ชวนให้ลงแหวกว่ายไปกับฝูงปลาแสนเชื่อง และทุกเดือน มีนาคม เกาะแห่งนี้จะเป็นที่รวมของฝูงปลาขนาดเล็กมากมาย ที่มาชุมนุมกันอย่างน่าอัศจรรย์ รวมไปถึงทะเลใน ที่ซ่อนไว้ ซึ่งมุมมองอันวิเศษสุดอีกด้านหนึ่งของเกาะ
ช่วงเวลาที่ดีที่สุด: 10.00 - 11.00 น. และ 14.00 - 16.00 น.
ฤดูกาลที่ดีที่สุด: ปลายเดือนธันวาคมถึงเดือนมีนาคม
จุดชมวิวที่ดีที่สุด: ชายหาดด้านหน้าและทะเลใน ซึ่งอยู่ด้านทิศเ
พิพิธภัณฑสถานจังหวัดกำแพงเพชร
| ||
อยู่ติดกับพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติกำแพงเพชร ภายในเขตกำแพงเมืองเก่าของจังหวัดกำแพงเพชร เพื่อเป็นการเฉลิมพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ เนื่องในพระราชพิธีกาญจนาภิเษก ฉลองสิริราชสมบัติครบ 50 ปี สร้างด้วยไม้สักเป็นเรือนไทยหมู่แบบเรือนไทยภาคกลาง พิพิธภัณฑสถานจังหวัดกำแพงเพชรฯ แบ่งออกเป็น 3 ส่วน คือส่วนของประวัติศาสตร์เมือง ส่วนของมรดกดีเด่น เช่น หินอ่อน แหล่งน้ำมัน และส่วนของชาติพันธุ์วิทยา แสดงถึงชนเผ่าต่างๆ เช่น มูเซอ กะเหรี่ยง ลีซอ การละเล่นพื้นบ้าน เป็นต้น มีห้องโสตทัศนูปกรณ์ และนิทรรศการเฉลิมพระเกียรติ โดยใช้ระบบมัลติมีเดีย มีการจำหน่ายผลิตภัณฑ์ศิลปหัตถกรรมพื้นเมืองของจังหวัด ผลิตภัณฑ์ชาวเขาและกลุ่มแม่บ้าน นอกจากนั้นมีศูนย์จริยศึกษา เพื่อฝึกหัดอบรมงานประณีตศิลป์ ศิลปประดิษฐ์ สำหรับเยาวชนในวัยเรียน ซึ่งจะเป็นนักเรียนจากโรงเรียนต่างๆ ในจังหวัด โดยจะสอนเกี่ยวกับพุทธศาสนา มรรยาท การแกะสลัก ร้อยมาลัย ซึ่งจะเปิดสอนเฉพาะวันอาทิตย์ และในบริเวณยังมีสวนกล้วย กว่า 200 สายพันธุ์ ซึ่งมีทั้งกล้วยพื้นบ้านไทย และพันธุ์กล้วยนานาชาติ อาทิเช่น กล้วยไข่ กล้วยหอม กล้วยตานีดำ กล้วยคุณหมิง กล้วยหอมแกรนด์เนนม กล้วยพม่าแหกคุก กล้วยน้ำว้าลูกไส้ดำ เป็นต้น โดยเฉพาะอย่างยิ่ง กล้วยน้ำหมาก ซึ่งมีแห่งเดียวในประเทศไทย พิพิธภัณฑสถานจังหวัดกำแพงเพชรฯ เปิดให้เข้าชมทุกวันเวลา 09.00 - 16.30 น. สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ โทร. 0 5572 2341 - 2 |
ศูนย์วัฒนธรรมชาวเขา
เป็นสถานที่ท่องเที่ยวแห่งหนึ่ง ตั้งอยู่ที่หมู่ที่ 1 ตำบลคลองลานพัฒนา อำเภอคลองลาน ห่างจากจังหวัดกำแพงเพชร 60 กม. เป็นแหล่งศูนย์กลางข้อมูลการท่องเที่ยวชาวเขา และรวบรวมวัฒนธรรม ขนบธรรมเนียมประเพณีของชาวเขา จำนวน 6 เผ่า คือ ม้ง เย้า มูเซอ ลีซอ กะเหรี่ยง และลัวะ และมีบ้านพักไว้บริการให้กับนักท่องเที่ยว โดยได้จำลองบ้านของชาวเขาเข้าอยู่ในศูนย์วัฒนธรรมชาวเขาหมู่บ้าน ตลอดทั้งมีพื้นที่กางเต็นท์และสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ จัดให้มีการแสดงของเยาวชนเผ่าม้ง เย้า และลีซอ ไว้ให้กับนักท่องเที่ยว ชมวิถีชีวิตของชาวเขาเผ่าต่างๆ และมีสินค้าหัตถกรรมผ้าปักเครื่องเงิน ของชาวเขาจำหน่าย เป็นของที่ระลึกให้กับนักท่องเที่ยว ผู้สนใจติดต่อได้ที่ศูนย์พัฒนาและสงเคราะห์ชาวเขาจังหวัดกำแพงเพชร โทร. 0 5578 6250 หรือ สมาคมส่งเสริมการท่องเที่ยวจังหวัดกำแพงเพชร โทร. 0 5571 1455 |
บ่อน้ำพุร้อนพระร่วง (บึงสาป
ตั้งอยู่ที่หมู่ที่ 3 ตำบลลานดอกไม้ อำเภอเมือง ห่างจากตัวเมืองไปตามถนนสายกำแพงเพชร - พรานกระต่าย (101) ประมาณ 13 กม. แยกซ้ายเข้าไปอีกประมาณ 12 กม. มีลักษณะเป็นน้ำพุร้อนเกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ ผุดขี้นมาจากใต้ดิน จำนวน 5 จุด มีความร้อนประมาณ 40 - 65 องศาเซลเซียส มีสถานที่สำหรับให้บริการอาบน้ำแร่ในบริเวณบ่อน้ำพุร้อนแห่งนี้ด้วย ซึ่งจากการตรวจสอบของกระทรวงสาธารณสุขปรากฏว่าไม่มีสารปนเปื้อนและเชื้อโรคอันตรายเกินมาตรฐานแต่อย่างใด และมีการจัดสถานที่สำหรับให้บริการอาบน้ำแร่ในบริเวณบ่อน้ำพุร้อนแห่งนี้ด้วย หมายเหตุ ขณะนี้สถานที่สำหรับบริการอาบน้ำแร่ กำลังอยู่ในการปรับปรุงเพิ่มเติม สอบถามเพิ่มเติมที่ องค์การบริหารส่วนจังหวัดกำแพงเพชร โทร. 0 5571 1066 ต่อ 22 หรือ ประชาสัมพันธ์ |
วัดพระเกิด
วัดพระเกิด ตั้งอยู่หมู่ที่ 4 ตำบลฝาละมี อำเภอปากพะยูน จังหวัดพัทลุง อยู่ห่างจากที่ว่าการอำเภอไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ ประมาณ 8 กิโลเมตร หรือห่างจากสถานีรถไฟควนเคี่ยมไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ ประมาณ 4 กิโลเมตร มีถนนลูกรังติดต่อกันได้ตลอดถึงวัด มีคลองพระเกิดไหลผ่านทางทิศตะวันตกของวัด ปัจจุบันทางทิศเหนือของวัดมีคลองพระกิดขุดใหม่ไหลผ่านไปออกทะเลสาบสงขลาทางทิศใต้ของบ้านบางมวง
วัดพระเกิด หรือที่ชาวบ้านเรียกสั้น ๆ ว่า “วัดเกิด” เป็นวัดโบราณเก่าแก่มีอายุหลายร้อยปีมาแล้ว แต่ไม่มีหลักฐานว่าสร้างขึ้นในสมัยใด คนเฒ่าคนแก่เล่าสืบต่อ ๆ กันมาว่า กาลนานมาแล้ว มีตาสามโมกับยายเพชรสองผัวเมีย ได้มาอาศัยทำไร่ทำนาถากถางป่า แล้วทำการเผาไม้ แต่เผาเท่าไร ๆ ไฟก็ไม่ไหม้ตายายทั้ง 2 เกิดสงสัยว่าน่าจะมีอะไรอยู่ใต้พื้นดิน จึงขุดลงไปพบพระพุทธรูปทองคำ และเข้าใจว่าเป็นพระพุทธรูปที่เกิดขึ้นมาเอง ต่อมาตายายได้สร้างวัดขึ้น ให้ชื่อว่า “วัดพระเกิด”
มีบางตำนานว่า นางเลือดขาวได้โดยสารเรือสำเภาผ่านเข้ามาทางคลองฝาละมีเรือได้อัปปางลงใกล้ ๆ กับสถานที่แห่งหนึ่ง เรียกว่า “สวนจีน” นางเลือดขาวขึ้นบกได้เดินทางต่อไป จนได้คลอดบุตรเป็นหญิงให้ชื่อว่า “นางพิมพ์” พร้อมกับได้สร้างวัดขึ้นวัดหนึ่ง เรียกว่า “วัดพระเกิด” ซึ่งหมายถึงที่เกิดหรือที่นางคลอดบุตรนั่นเอง
พงศาวดาร เมืองพัทลุงระบุว่า ตาสามโมกับยายเพชรสองผัวเมียอาศัยอยู่ที่บ้านพระเกิด เป็นหมอสดำเลี้ยงช้างส่งเจ้าพระยากรุงทองเจ้าเมืองสทิงพาราณสี ปีละ 1 เชือก ต่อมาจึงเรียกว่า “ที่คช” หรือที่ส่วยช้าง แต่ไม่ได้กลาวถึงการสร้างวัด มีข้อสังเกตว่าเมื่อตายายทั้ง 2 เข้าไปอาศัยอยู่ที่บ้านพระเกิดนั้น บ้านพระเกิดคงเป็นชุมชนมาแล้ว ต่อมาเมื่อผู้คนอพยพเข้าไปอาศัยมากขึ้น จึงได้สร้างวัดขึ้นเป็นวัดประจำชุมชน เพื่อใช้ประกอบกิจทางศาสนา ซึ่งคงไม่เกินพุทธศตวรรษที่ 19 ตามที่ได้กล่าวมาแล้วข้างต้น
ตามทำเนียบวัดในจังหวัดพัทลุงของพระครูอริยสังวร (เอียด) อดีตเจ้าคณะจังหวัดพัทลุง ระบุว่า วัดพระเกิดสร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. 1939 ตรงกับสมัยสุโขทัยตอนปลายหรือสมัยอยุธยาตอนต้น
แต่ในเวลานี้หลักฐานที่จะพอสืบค้นได้ ปรากฏว่าเดิมวัดพระเกิดเป็นวัดร้างมาก่อนช้านานหลายปี ต่อมาราวสมัยรัชกาลที่ 5 พ.ศ. 2430 ได้มีการบูรณวัดขึ้นไม่ช้าวัดก็ร้าง จนปี พ.ศ. 2446 ได้มีพระสงฆ์ไม่ปรากฏนามบูรณะวัดขึ้นอีก
พ.ศ. 2478 มีพระแดง โชติโต มาจำพรรษาช่วยบูรณะวัด จน พ.ศ. 2484 พระแดงโชติโต ได้ย้ายไปสร้างวัดควนนางพิมพ์ พระท่อน ปภงสโร จึงเป็นผู้ดูแลวัดต่อมาจนทุกวันนี้
วัดสทังน้อย
| วัดสทังน้อย ชาวบ้านนิยมเรียกว่า “วัดสทังเหนือ” หรือวัดสทังน้อยตีนทะเลสาบ ตั้งอยู่ริมทะเลสาบในหมู่ที่ 4 ตำบลหานโพธิ์ อำเภอเขาชัยสน จังหวัดพัทลุง อยู่ห่างจากวัดสทังใหญ่ไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ประมาณ 1 กิโลเมตร วัดสทังน้อย เป็นวัดโบราณสร้างขึ้นในสมัยอยุธยา สร้างหลังวัดสทังใหญ่ ตามทำเนียบวัดในจังหวัดพัทลุงของพระครูอริยสังวร (เอียด) ระบุว่า วัดสทังน้อยสร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2121 พงศาวดารเมืองพัทลุงกล่าวว่า เมื่อเสียเมืองพัทลุงให้แก่โจรสลัดอุยงคตนะแล้ว ขุนศรีชนาปลัดเมืองพัทลุง ได้สร้างวัดสทังน้อยขึ้นที่ริมทะเลสาบวัดหนึ่ง มีพระมหาเทพปัญญาเป็นเจ้าอธิการ |
วัดคูหาสวรรค์
วัดคูหาสวรรค์ ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ของเชิงเขาคูหาสวรรค์ (เขาหัวแตก) ตำบลคูหาสวรรค์ ในเขตเทศบาลเมืองพัทลุง อยู่ห่างจากสถานีรถไฟพัทลุงไปทางทิศตะวันตกประมาณ 500 เมตร และอยู่ห่างจากโรงภาพยนต์แกรนด์พัทลุงไปทางทิศเหนือประมาณ 200 เมตร มีถนนจรูญธรรมเชื่อมต่อประตูวัดกับถนนราเมศวร์
วัดคูหาสวรรค์ ชาวบ้านนิยมเรียกว่า “วัดคูหาสูง” หรือ “วัดสูง” เนื่องจากบริเวณวัดตั้งอยู่เชิงเขาเป็นที่สูง เป็นวัดโบราณที่ยังไม่มีหลักฐานยืนยันแน่นอนว่าสร้างขึ้นในสมัยใดแน่ แต่ตามตำนานนางเลือดขาวระบุว่า เมื่อตายายคือตามสามโมกับยายเพชรถึงแก่อนิจกรรมแล้ว กุมารกับนางเลือดขาวได้นำอัฐิของท่านทั้ง 2 ไปเก็บไว้ในถ้ำคูหาสวรรค์ ตามทำเนียบวัดในจังหวัดพัทลุงของพระครูอริยสังวร (เอียด) ก็กล่าวว่าวัดคูหาสวรรค์สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. 1924
ส่วนข้อความในหนังสือพระกัลปนาวัดสมัยอยุธยาชี้บ่งว่า พระราชมุนีร่วมมือกับพระครูสัทธรรมรังษี พระมหาเถรพุทธรักขิต พระครูบุตรเทพ และหมื่นเทพบาล สร้างวัดในถ้ำคูหาสวรรค์ในที่ราบขุนศรีชนาพยาบาล และก่อพระพุทธรูป 20 องค์ สร้างพระเจดีย์ 7 องค์ แล้วถวายพระกุศลเข้าไปยังกรุงศรีอยุธยา โปรดเกล้าฯ ให้มีพระราชตำราตราโกษาธิบดียกญาติโยมและที่ภูมิสัตว์ไร่นาอันมีในที่นั้น 12 หัวงาน ขาดออกจากส่วยหลวง เป็นศีลบาลทานพระกัลปนาสำหรับวัดคูหาสวรรค์
อยู่ต่อมาเมื่อออกเมืองคำออกมาเป็นเจ้าเมืองพัทลุง อุยงคตะนะโจรสลัดมาเลย์ยกกำลังเป็นกองโจรเข้าปล้นเมืองพัทลุง ได้เผาผลาญบ้านเรือนวัดวาอารามขึ้นมาถึงตำบลคูหาสวรรค์ จึงเข้าใจว่าวัดคูหาสวรรค์อาจถูกทำลายไปด้วย จนกระทั่งถึงสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช วัดคูหาสวรรค์จึงได้รับการบูรณะใหม่
ในสมัยรัตนโกสินทร์ พ.ศ. 2432 ได้มีการบูรณะวัดครั้งใหญ่ มีการปรับปรุงพื้นที่วัดเพื่อเตรียมรับเสด็จพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 พระองค์ท่านได้ทรงพระราชนิพนธ์ไว้ในจดหมายเหตุเสด็จประพาสแหลมมลายู ร.ศ. 108 ตอนหนึ่งว่า
“เขาคูหาสวรรค์ที่ไปนั้น เมื่อจะเข้าเขตวัดมีสระ ๆ หนึ่ง ว่าน้ำจืดสนิท แต่เวลานี้น้ำแห้ง มีถ้ำอยู่ที่ลูกเขาข้างหน้าเป็นโพรงเล็ก ๆ มีพระพุทธรูปขึ้นไปบนชานชั้นบนอีกชั้นหนึ่งสูงสัก 7 – 8 ศอก เป็นที่ราบกว้างสัก 30 วา มีต้นไม้ใหญ่ปลูกรายรอบ ร่มรื่นดีที่กลางลานนั้น ยกพื้นอีกชั้นหนึ่งสูงสักศอกหนึ่ง มีโบสถ์ 3 ห้อง ไม่มีฝาผนังอย่างโบสถ์บ้านนอกข้างหัวเมืองตะวันตกทั้งปวง มีพระประธานใหญ่ ที่ลานชั้นกลางมีการเปรียญและกุฏิพระสงฆ์ ปลูกพลับพลาประทับร้อนที่บนนั้น ว่าข้างภูมิที่ท่วงทีเขาดีอย่างยิ่ง เหมือนเรานึกทำเล่น ถ้าจะทำเป็นวัดหลวง จะงามกว่าวัดมหาสมณรามมาก ขึ้นเนินลาด ๆ ไปอีกหน่อยหนึ่งถึงปากถ้ำที่ปากถ้ำนั้นก็มีเทือกเขาบัง ต้องเดินเฉียงเข้าไปเหมือนกัน ถ้ำยาวสัก 15 วา ข้างแคบ ๆ กว่าหน่อยหนึ่ง แสงสว่างเข้าได้เต็มหน้าเพราะปากช่องใหญ่ ถ้ำนี้เรียกว่าถ้ำน้ำเงิน เพราะน้ำซึมตระไคร้จับเขียวไปทั้งถ้ำ มีพระพุทธรูปนอนองค์ใหญ่องค์หนึ่ง นั่งใหญ่องค์หนึ่ง ย่อม ๆ ลงมา 26 องค์ พระพุทธรูปนั้นก็น้ำเงินไปด้วยกันโดยมาก ข้างหลังพระมีปล่องลงไปได้ลึก จนถึงพื้นล่างมีน้ำในนั้น ทำนองถ้ำหมีแควป่าสัก แต่มืดต้องจุดเทียน ได้จารึกอักษร จ.ป.ร. ไว้ที่เพิงหน้าถ้ำอีกแห่งหนึ่ง แล้วเดินทางกลับลงมาเลี้ยวไปตามทางข้างเขาอีกหน่อยหนึ่งถึงถ้ำนางคลอด ปากถ้ำสูงประมาณ 4 วา เป็นเวิ้งเข้าไปตื้น ๆ ไม่อัศจรรย์อันใด”
วัดคูหาสวรรค์ ชาวบ้านนิยมเรียกว่า “วัดคูหาสูง” หรือ “วัดสูง” เนื่องจากบริเวณวัดตั้งอยู่เชิงเขาเป็นที่สูง เป็นวัดโบราณที่ยังไม่มีหลักฐานยืนยันแน่นอนว่าสร้างขึ้นในสมัยใดแน่ แต่ตามตำนานนางเลือดขาวระบุว่า เมื่อตายายคือตามสามโมกับยายเพชรถึงแก่อนิจกรรมแล้ว กุมารกับนางเลือดขาวได้นำอัฐิของท่านทั้ง 2 ไปเก็บไว้ในถ้ำคูหาสวรรค์ ตามทำเนียบวัดในจังหวัดพัทลุงของพระครูอริยสังวร (เอียด) ก็กล่าวว่าวัดคูหาสวรรค์สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. 1924
ส่วนข้อความในหนังสือพระกัลปนาวัดสมัยอยุธยาชี้บ่งว่า พระราชมุนีร่วมมือกับพระครูสัทธรรมรังษี พระมหาเถรพุทธรักขิต พระครูบุตรเทพ และหมื่นเทพบาล สร้างวัดในถ้ำคูหาสวรรค์ในที่ราบขุนศรีชนาพยาบาล และก่อพระพุทธรูป 20 องค์ สร้างพระเจดีย์ 7 องค์ แล้วถวายพระกุศลเข้าไปยังกรุงศรีอยุธยา โปรดเกล้าฯ ให้มีพระราชตำราตราโกษาธิบดียกญาติโยมและที่ภูมิสัตว์ไร่นาอันมีในที่นั้น 12 หัวงาน ขาดออกจากส่วยหลวง เป็นศีลบาลทานพระกัลปนาสำหรับวัดคูหาสวรรค์
อยู่ต่อมาเมื่อออกเมืองคำออกมาเป็นเจ้าเมืองพัทลุง อุยงคตะนะโจรสลัดมาเลย์ยกกำลังเป็นกองโจรเข้าปล้นเมืองพัทลุง ได้เผาผลาญบ้านเรือนวัดวาอารามขึ้นมาถึงตำบลคูหาสวรรค์ จึงเข้าใจว่าวัดคูหาสวรรค์อาจถูกทำลายไปด้วย จนกระทั่งถึงสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช วัดคูหาสวรรค์จึงได้รับการบูรณะใหม่
ในสมัยรัตนโกสินทร์ พ.ศ. 2432 ได้มีการบูรณะวัดครั้งใหญ่ มีการปรับปรุงพื้นที่วัดเพื่อเตรียมรับเสด็จพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 พระองค์ท่านได้ทรงพระราชนิพนธ์ไว้ในจดหมายเหตุเสด็จประพาสแหลมมลายู ร.ศ. 108 ตอนหนึ่งว่า
“เขาคูหาสวรรค์ที่ไปนั้น เมื่อจะเข้าเขตวัดมีสระ ๆ หนึ่ง ว่าน้ำจืดสนิท แต่เวลานี้น้ำแห้ง มีถ้ำอยู่ที่ลูกเขาข้างหน้าเป็นโพรงเล็ก ๆ มีพระพุทธรูปขึ้นไปบนชานชั้นบนอีกชั้นหนึ่งสูงสัก 7 – 8 ศอก เป็นที่ราบกว้างสัก 30 วา มีต้นไม้ใหญ่ปลูกรายรอบ ร่มรื่นดีที่กลางลานนั้น ยกพื้นอีกชั้นหนึ่งสูงสักศอกหนึ่ง มีโบสถ์ 3 ห้อง ไม่มีฝาผนังอย่างโบสถ์บ้านนอกข้างหัวเมืองตะวันตกทั้งปวง มีพระประธานใหญ่ ที่ลานชั้นกลางมีการเปรียญและกุฏิพระสงฆ์ ปลูกพลับพลาประทับร้อนที่บนนั้น ว่าข้างภูมิที่ท่วงทีเขาดีอย่างยิ่ง เหมือนเรานึกทำเล่น ถ้าจะทำเป็นวัดหลวง จะงามกว่าวัดมหาสมณรามมาก ขึ้นเนินลาด ๆ ไปอีกหน่อยหนึ่งถึงปากถ้ำที่ปากถ้ำนั้นก็มีเทือกเขาบัง ต้องเดินเฉียงเข้าไปเหมือนกัน ถ้ำยาวสัก 15 วา ข้างแคบ ๆ กว่าหน่อยหนึ่ง แสงสว่างเข้าได้เต็มหน้าเพราะปากช่องใหญ่ ถ้ำนี้เรียกว่าถ้ำน้ำเงิน เพราะน้ำซึมตระไคร้จับเขียวไปทั้งถ้ำ มีพระพุทธรูปนอนองค์ใหญ่องค์หนึ่ง นั่งใหญ่องค์หนึ่ง ย่อม ๆ ลงมา 26 องค์ พระพุทธรูปนั้นก็น้ำเงินไปด้วยกันโดยมาก ข้างหลังพระมีปล่องลงไปได้ลึก จนถึงพื้นล่างมีน้ำในนั้น ทำนองถ้ำหมีแควป่าสัก แต่มืดต้องจุดเทียน ได้จารึกอักษร จ.ป.ร. ไว้ที่เพิงหน้าถ้ำอีกแห่งหนึ่ง แล้วเดินทางกลับลงมาเลี้ยวไปตามทางข้างเขาอีกหน่อยหนึ่งถึงถ้ำนางคลอด ปากถ้ำสูงประมาณ 4 วา เป็นเวิ้งเข้าไปตื้น ๆ ไม่อัศจรรย์อันใด”
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)