ตุ่มใสที่เท้า
ตุ่มใสที่เท้าเกิดจากองค์ประกอบหลัก ๆ 4 อย่างคือ ความชื้น แรงเสียดทาน ความร้อน และความเย็น หากองค์ประกอบต่าง ๆ มีอยู่ที่เท้าคุณ ก็จะมีโอกาสที่เกิดตุ่มใสสูงยิ่งขึ้น ฉะนั้นหากเราต้องการลดโอกาสที่เกิดตุ่มใส ก็จะต้องลดองค์ประกอบทั้ง 4 ชนิด วิธีง่าย ๆ ที่ได้กล่าวมาแล้วคือ การหลีกเลี่ยงการลงน้ำ ใช้ถุงเท้าที่สะอาดไม่เปียกชื้น ให้อากาศถ่ายเทในรองเท้าได้สะดวก ก็จะสามารถช่วยลดโอกาสที่จะเกิดตุ่มใสได้
ก่อนที่จะมาดูรายละเอียดขององค์ประกอบต่าง ๆ เราจะมาดูเรื่องผิวหนังของเราอย่างคร่าว ๆ กันก่อน ผิวหนังของคนเราจะประกอบด้วยผิวหนัง 2 ชั้น คือผิวชั้นนอกและผิวชั้นใน โดยระหว่างผิวหนังทั้งสองจะมีตัวเชื่อมระหว่างชั้นอยู่ซึ่งจะเรียกว่า Basement Membrane Zone หรือ BMZ โดยตุ่มใสจะเกิดบริเวณรอยเชื่อมนี้เมื่อรอยเชื่อมถูกทำลายลงด้วยความร้อน ความชื้น แรงเสียดทาน หรือความเย็น
ในองค์ประกอบทั้ง 4 ที่กล่าวมาเราจะมาดูรายละเอียดกันสักเล็กน้อยว่า สามารถทำให้รอยเชื่อมระหว่างผิวหนังเสียไปได้อย่างไร
•ความร้อน – ทำให้เกิดปฏิกริยา Thermal Reaction ซึ่งจะลายรอยเชื่อมของผิวหนัง ความร้อนอาจจะเกิดจากรองเท้าที่อากาศไม่ถ่ายเท แรงเสียดสีในรองเท้า เป็นต้น
•ความเย็น – ทำให้การไหลเวียนของเลือดบริเวณผิวหนังลดลง ทำให้ผิวหนังมีความบอบบางมากขึ้น
•ความชื้น – เมื่อมีความชื้นเกิดขึ้น ผิวหนังจะมัการดูดซึมความชื้นเข้าไปทำให้ผิวอ่อนนุ่มและเกิดความอ่อนแอภายในผิวหนังขึ้น ความชื้นอาจจะเกิดจากการใส่ถุงเท้าที่อับชื้น รองเท้าที่เปียก
•แรงเสียดทาน – เมื่อผิวหนังเสียดสีกันก็จะก่อให้เกิดแรงเสียดทานขึ้น แรงเสียดทานอาจจะเกิดจากเท้ากับถุงเท้า หรือถุงเท้ากับพื้นรองเท้า บางครั้งก็อาจจะเกิดจากรองเท้าที่แน่นเกินไป หรือมีสิ่งแปลกปลอมใสรองเท้า เป็นต้น
วิธีแก้ไข
ถ้าเป็นในขณะเกมการแข่งขันจริงๆแล้วควรจะหยุดเล่น แต่ถ้าเลี่ยงไม่ได้จริงๆ ให้ถอดรองเท้าและถุงเท้าออกมา
และนำผ้าเทปมาแปะไว้บริเวณที่เกิดตุ่มใส ผ้าเทปจะเป็นตัวลดการเสียดสีระหว่างผิวบริเวณนั้นกับถุงเท้าซึ่งจะช่วยลด
ความเจ็บเวลาเคลื่อนไหว หากเราไม่นำผ้าเทปมาปิดตั้งแต่ต้นแล้วเล่นต่อ ผิวหนังบริเวณนั้นก็จะเจ็บขึ้นเรื่อย ๆ
สำหรับผ้าเทปที่ใช้ควรเป็นแบบผ้าหรือแบบที่ติดแล้วไม่หลุดง่าย
หลังจากการแข่งขันแล้ว
หากคุณต้องการเจาะตุ่มใส ๆ ออกก็สามารถทำได้ โดยใช้เข็มที่สะอาด โดยให้ล้างเท้าให้สะอาดก่อน
แล้วใช้เข็มเจาะเข้าไปในตุ่มใส ไม่ต้องกลัวเจ็บเพราะผิวหนังบริเวณเท้าจะค่อนข้างหนา เมื่อเจาะแล้วก็ให้บีบน้ำ
จากตุ่มออกมาให้หมด แล้วใช้ผ้าเทปปิดทับอีกครั้ง
credit:http://www.mrbackpacker.com/tips/tip_16.html
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น